เทคนิคที่ไม่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อได้มากอย่างที่คิด

Tips and Technique, Weight Training

219_tech_p

 

เทคนิคการฝึก Superset แบบ pre-exhaustion หรือการฝึกท่าฝึก 2ท่าฝึกต่อกันโดยเริ่มจาก ท่าฝึกที่เป็นข้อต่อเดี่ยวตามด้วยการฝึกหลายข้อต่อโดยทันที Single joint -> Multiple joint นั้นถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ที่ฝึกเวทเทรนนิ่ง โดยมีแนวคิดว่าเทคนิคนี้สามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อนั้นๆ ได้ ถ้าถูกกระตุ้นโดยท่าฝึกข้อต่อเดี่ยวก่อนแล้วตามด้วยท่าฝึกหลายข้อต่อทันที

จากงานวิจัยเกี่ยวกับการฝึก pre-exhaustion ในกล้ามเนื้อลำตัวช่วงล่าง โดยทดสอบจากผู้ฝึกชายปกติ 17คน โดยฝึกในสองรูปแบบ ได้แก่ การฝึกปกติ Legpress อย่างเดียว และ แบบ pre-exhaust Leg extension แล้วตามด้วย Leg press โดยทั้งสองท่าฝึกใช้ความหนักที่จำนวนครั้งสูงสุด 10RM <<<10RM คืออะไร อ่านที่นี่>>>

เก็บค่าด้วยเครื่องวัดการทำงานกล้ามเนื้อ EMG ในขณะที่ทำการ Leg press และ จำนวนครั้งสูงสุดที่ฝึกได้จริงนั้นถูกบันทึก

 

การศึกษาพบว่า

– กล้ามเนื้อต้นขาส่วนกลางและกล้ามเนื้อขาหยดน้ำด้านนอก Rectus femoris และ vastus lateralis ทำงาน “น้อยลง” ในท่า Leg press ในการฝึกแบบ Pre-exhaust

  • การฝึก Pre-Exhaust โดย Leg extension ทำให้จำนวนครั้งในการฝึก Leg press ลดลงเมื่อเทียบกับการฝึก Leg press อย่างเดียวซึ่งสอดคล้องกับความเมื่อล้าของกล้ามเนื้อ

โดยทั้งนี้นักวิจัยให้ผลสรุปว่า การฝึก Pre-exhaustion นั้น “ไม่สนับสนุนความเชื่อเดิมที่ว่าจะทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นมากขึ้น” ในทางกลับกันพบว่า “กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นน้อยลงจากความเมื่อล้า”

 

อย่างไรก็ตาม

– อาจจำเป็นต้องการมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนภายหลังจากการฝึก

เพื่อศึกษาต่อไป

– Pre-exhaustion เองนั้นยังถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านอื่นได้ เช่น เพิ่มการโฟกัสของกล้ามเนื้อ โดยการทำให้กล้ามเนื้อหลักอ่อนแรงลงในระดับนึงก่อนเพื่อลดภาระของกล้ามเนื้อมัดรองในการฝึกจนหมดแรง หรือ การทำให้ฝึกหนักขึ้นในขณะที่ยกนน.เบาลง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า จำนวนครั้งสูงสุดลดลงภายหลังการฝึก pre-exhaustion

– พบว่า ในเมื่อ pre-exhaustion นั้นไม่สามารถเพิ่มการทำงานกล้ามเนื้อได้จึงกล่าวได้ว่า ผู้ฝึกที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรง หรือ เพิ่มความพยายามสูงสุดในการออกแรงนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฝึกนี้

อ้างอิง

AUGUSTSSON, JESPER; THOMEÉ, ROLAND; HÖRNSTEDT, PER; LINDBLOM, JENS; KARLSSON, JON; GRIMBY, GUNNAR

Journal of Strength & Conditioning Research:May 2003

 

60days#2_arti

Workshop ที่รวบรวม หลักและวิธีการสร้างกล้ามเนื้อที่ครอบคลุมที่สุด ตั้งแต่การวางแผน จัดการโปรแกรมเวทเทรนนิ่ง และ อาหาร ไปจนถึงการวัดผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างถูกต้อง

(Visited 418 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019