เร่งประสิทธิภาพการออกกำลังกายด้วยเสียงเพลง สนับสนุนข้อมูลดี ๆ โดย Panasonic

Tips and Technique, Weight Training

316_music_p

315_panasonic_p

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ที่ฟังดนตรีในขณะที่ปั่นจักรยานหรือวิ่งอยู่บนลู่วิ่ง คนส่วนใหญ่มักฟังดนตรีในขณะที่ออกกำลังกาย เพราะดนตรีจะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้นในขณะที่ออกกำลังกายอย่างหนัก

 

จากการศึกษาพบว่าเสียงดนตรีจะกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทแล้วส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในเรื่อง อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การตอบสนองทางม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

 

การเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็วจะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ส่วนการเลือกเพลงช้าจะทำให้ร่างกายผ่อนคลาย

 

การเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว จะกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ส่วนจังหวะที่ช้าจะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ เยือกเย็น ชีพจรช้าลง จังหวะปานกลางหรือจังหวะที่มีอัตราความเร็วใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ คือ ประมาณ 70-80 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สบาย

 

นักวิจัยได้ทดสอบเปิดเพลงตั้งแต่เริ่มจนจบระหว่างการทดสอบปั่นจักรยาน 10 กิโลเมตร ได้พบผลการทดลองที่น่าสนใจโดยนักปั่นจักรยานจะปั่นจักรยานได้เร็วขึ้นเมื่อได้ฟังเพลงไปด้วย การฟังเพลงเพิ่มประสิทธิภาพและอัตราการเต้นของหัวใจในระหว่าง 3 กิโลเมตรแรกของการทดสอบ และพบว่าเพลงที่มีจังหวะที่เร็วจะสร้างแรงจูงใจและเร่งประสิทธิภาพได้ดีกว่า

 

นอกจากนี้การฟังเพลงระหว่างการออกกำลังกายนั้นช่วยชะลอความเมื่อยล้าและทำให้ความเมื่อยล้าน้อยลง มันสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกาย การใช้พลังงานและมีอิทธิพลทางด้านอารมณ์ การออกกำลังที่ได้ผลจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง, เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว, ลดไขมัน, และยังทำให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสได้เนื่องจากร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินออกมทำให้เกิดความสุข ในการนี้เพลงช่วยทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้ประสบความสำเร็จในการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การฟังเพลงมีผลในการเพิ่มความสามารถหรือประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

 

แนวทางการใช้เพลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย

  1. เริ่มต้นด้วยการวอร์มร่างกายก่อน โดยออกกำลังกายเบาๆ โดยใช้เพลงจังหวะปานกลาง
  2. เร่งมาเป็นจังหวะปานกลางหรือเร็วขึ้นตามความหนักของการออกกำลังกาย

 

อ้างอิง

  1. Costas I. Karageorghis & David-Lee Priest (2012): Music in the exercise domain:a review and synthesis (Part I), International Review of Sport and Exercise Psychology, 5:1, 44-66
  2. Costas I. Karageorghis & David-Lee Priest (2012): Music in the exercise domain:a review and synthesis (Part II), International Review of Sport and Exercise Psychology, 5:1, 67-84
  3. Lindgren & A. Axelsson (1988): The influence of physical exercise on susceptibility to noise-induced temporary threshold shift, Scandinavian Audiology, 17, 11-17.

315_panasonic

(Visited 423 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019